พลังของการคิดเชิงนวัตกรรม.
พลังของการคิดเชิงนวัตกรรม.
โครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง “พลังของการคิดเชิงนวัตกรรม” (The Power of Innovative Thinking)
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบัน การคิดเชิงนวัตกรรมและการสร้างนวัตกรรมเป็นความสามารถพิเศษซึ่งเป็นที่ต้องการมากในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกปัจจุบันซึ่งมีการแข่งขันกันผลิตสินค้าและนวัตกรรมต่าง ๆ ซึ่งต้องอาศัยความคิดแปลกใหม่ที่ไม่ซ้ำกับผู้อื่นและสร้างคุณค่าแก่ลูกค้าการคิดเชิงนวัตกรรมจึงเป็นทักษะสำคัญที่องค์กรควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นในพนักงานทุกระดับชั้น
นักสร้างนวัตกรรมหรือนวัตกรที่มีชื่อเสียงในวงการต่างๆ จะมีอุปนิสัยเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมเช่น การตั้งคำถาม การสังเกต การคิดนอกกรอบ การกล้าทดลอง ดังนั้นในโครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “พลังของการคิดเชิงนวัตกรรม”จะเน้นที่การฝึกทักษะของการคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้ในการทำงานและการใช้ชีวิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมของตนเองอย่างเต็มศักยภาพ
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการสร้างนวัตกรรมและเรียนรู้เครื่องมือต่างๆ ของการสร้างนวัตกรรม
- เพื่อให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มในการสร้างผลงานใหม่ โครงการใหม่หรือปรับปรุงผลงานที่มีอยู่แล้ว
- เพื่อให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีในเรื่องการเรียนรู้สิ่งใหม่การเปลี่ยนแปลงและการออกนอกความเคยชิน
เนื้อหาการอบรม
-
- ความสำคัญของนวัตกรรม
เนื้อหานี้จะกล่าวถึงความสำคัญของทักษะการสร้างนวัตกรรมในโลกยุคปัจจุบัน
- ความสำคัญของนวัตกรรม
-
- รู้จักและเข้าใจกระบวนสร้างนวัตกรรม
เนื้อหานี้จะแนะนำกิจกรรมชื่อ Personality Poker ซึ่งเป็นกิจกรรมในรูปแบบไพ่ที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจและรู้จักกระบวนการสร้างนวัตกรรมซึ่งประกอบด้วยบุคคล 4 ประเภทคือ นักเก็บข้อมูล (โพธิ์ดำ), นักคิด (ข้าวหลามตัด), นักทำ (ดอกจิก) และนักสื่อสาร (หัวใจ) กิจกรรมนี้จะทำให้ผู้เรียนทราบว่าตนเองมีจุดแข็งหรือสไตล์ในการสร้างนวัตกรรมอย่างไร และเข้าใจการสร้างทีมงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ
- รู้จักและเข้าใจกระบวนสร้างนวัตกรรม
-
- ทักษะของนักเก็บข้อมูล : การตั้งคำถามและการสังเกต
เนื้อหาส่วนนี้จะกล่าวถึงการพัฒนาทักษะของนักเก็บข้อมูลคือ การตั้งคำถามและการสังเกต เพื่อรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือการสร้างนวัตกรรม
- ทักษะของนักเก็บข้อมูล : การตั้งคำถามและการสังเกต
-
- ทักษะของนักคิด : การหาไอเดียใหม่และการระดมสมอง
หลังจากที่นักเก็บข้อมูลได้รวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ แล้ว นักคิดจะหาคำตอบ แนวทางการแก้ไข การหาไอเดียใหม่ ดังนั้นเนื้อหาส่วนนี้จะกล่าวถึงการพัฒนาทักษะของนักคิดคือ การหาไอเดียใหม่ การระดมสมองอย่างมีประสิทธิภาพ
- ทักษะของนักคิด : การหาไอเดียใหม่และการระดมสมอง
-
- ทักษะของนักทำ : การทำต้นแบบ
เนื้อหาส่วนนี้จะกล่าวถึงทักษะที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของนักทำคือ การทำต้นแบบ (prototype) เพื่อทดสอบไอเดีย วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจไอเดียได้ชัดเจนมากขึ้น เนื้อหาส่วนนี้จะอธิบายวิธีการทำต้นแบบต่างๆ และการสร้างต้นแบบอย่างง่ายของแอพในสมาร์ตโฟน
- ทักษะของนักทำ : การทำต้นแบบ
-
- ทักษะของนักสื่อสาร : การนำเสนอ
หลังจากที่สร้างผลงานแล้ว นักสื่อสารจะต้องสื่อสารผลงานหรือนวัตกรรมเพื่อให้ผู้อื่นเห็นพ้องหรือคล้อยตาม ดังนั้นเนื้อหาส่วนนี้จะทำให้ผู้เรียนฝึกนำเสนอไอเดียหรือแนวคิดของตนให้ผู้อื่นทราบอย่างมีประสิทธิภาพ
- ทักษะของนักสื่อสาร : การนำเสนอ
- การพัฒนานิสัยหรือโครงการนวัตกรรม
เนื้อหาส่วนนี้จะสรุปเนื้อหาและแนะนำวิธีพัฒนาโครงการนวัตกรรมและการพัฒนานิสัยของนักสร้างนวัตกรรมอย่างยั่งยืน โดยวิทยากรจะมอบหมายวิธีฝึกนิสัย กิจกรรมหรือโครงงานเพื่อให้ผู้เรียนที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานของตนเอง
โครงสร้างของเนื้อหาการอบรมสรุปได้เป็นแผนภาพดังนี้
ระยะเวลาในการอบรม
การอบรมใช้เวลา 1 วัน ทั้งหมด 6 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 9.00 – 16 .00 น.
กำหนดการอบรม
9.00 – 9.15 ความสำคัญของนวัตกรรม
9.15 – 10.00 เข้าใจกระบวนการสร้างนวัตกรรมด้วย Personality Poker
10.00 – 11.15 ทักษะของนักเก็บข้อมูล : การตั้งคำถามและการสังเกต
11.30 – 12.00 ทักษะของนักคิด : การหาไอเดีย
12.00 – 13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 ทักษะของนักทำ : การทำต้นแบบ
14.30 – 15.30 ทักษะของนักสื่อสาร : การนำเสนอ
15.30 – 16.00 สรุปและทบทวน
รูปแบบการอบรม
การอบรมนี้เป็นสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ซึ่งผู้เรียนจะมีส่วนร่วมอย่างมากในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งกิจกรรมเดี่ยว กิจกรรมกลุ่ม การอภิปราย โดยใช้สื่อการสอนในรูปแบบที่หลากหลาย ได้แก่ การบรรยาย สไลด์ วิดีโอคลิป กิจกรรม เกม เป็นต้น
เนื้อหาการอบรมจะประกอบด้วยการบรรยายหรือทฤษฎี 30 % การฝึกปฏิบัติ 60 % การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือแสดงความเห็นในห้องเรียน 10 %
ผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการอบรม
1. ผู้เรียนพัฒนาทักษะสำคัญของการสร้างนวัตกรรมจนกระทั่งเป็นนิสัยติดตัว ซึ่งเป็นประโยชน์ในการทำงานและการสร้างนวัตกรรมขององค์กร
2. ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มในการปรับปรุงการทำงาน การพัฒนาการทำงาน หรือการทำโครงการใหม่ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรหรือเกิดเป็นนวัตกรรมต่อไปในอนาคต
3. ผู้เรียนกล้าเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และพัฒนาตนเองเพื่อเป็นบุคลากรสำคัญขององค์กร
วิทยากร
อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล
อาจารย์ประจำภาควิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งเป็นผู้สอนวิชา “การคิดเชิงนวัตกรรม” ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเวลา 12 ปี นอกจากนี้อาจารย์ธงชัย ยังเป็นนายกสมาคมความคิดสร้างสรรค์ ความจำ และการเล่น มีผลงานเขียนและแปลหนังสือ 10 เล่ม
สถานที่ติดต่อ
คุณอัจฉรา โอยามะ
บริษัท แอคคูเรซี่ โซลูชั่น จำกัด (สำนักงานใหญ่)
33/285 ถนนสุขาภิบาล 2 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
Tel : 02-077-7809 , 098-289-2107
E-mail : Publicworkshop@mindmap.in.th