การสร้างผังความคิด (Mind Map)

Visits: 68,039 view | Categories: บทความ | 3 มกราคม 2563 , 10:20:24

การสร้างผังความคิด (Mind Map)

Mind Map (แผนที่ความคิด) คือ เครื่องมือด้านความคิดที่ออกแบบโดยเลียนแบบการทำงานของสมอง คิดค้นโดยชาวอังกฤษชื่อ Tony Buzan ซึ่งเค้าว่าเครื่องมือนี้ คือ “ภาษาของสมอง” เป็นวิธีเดียวกับที่สมองคิด ใช้ได้ทั้งการนำข้อมูลเข้า (จดบันทึก) และออกจากสมอง (ระดมสมอง แสดงความคิด)

  • มีลักษณะสำคัญคือ มีการเชื่อมโยง จากไอเดียหลักตรงกลาง แตกกิ่งออกไปเรื่อยๆ
  • ประกอบไปด้วย “คำสำคัญ” และ “รูปภาพ” โดยองค์ประกอบเหล่านี้มีการเชื่อมโยงถึงกันด้วย “เส้น” และมีการกระตุ้นด้วยการใช้ “สี“

หลักการเขียนผังความคิด
1. เตรียมกระดาษเปล่า ใหญ่ๆ หน่อยก็ดี (A3-A4 กำลังสวยครับ) ให้เอาแบบไม่มีเส้น และให้วางในแนวนอน เพราะเส้นจะทำให้เกิดการตีกรอบ/กั้นความคิด และการอ่านแนวนอนนั้นง่ายกว่าแนวตั้ง (และถ้าคิดจะเก็บเป็น Collection ก็หาแฟ้มเจาะห่วงไว้ด้วยเลยก็ได้ครับ)

2. เตรียมปากกาสีสวยๆ ไว้ซัก 1 Set คุณสามารถวาด Mind Map ได้ด้วยดีสอสีแท่งเดียวก็จริง แต่ถ้ามีหลายสี มันจะทำให้ Mind Map คุณสวยขึ้น และสียังจะช่วยกระตุ้นความคิดได้มากกว่าด้วย

3. ผ่อนคลายซักนิด ก่อนเริ่มวาด…

4. วาดภาพหรือเขียนหัวข้อหลักที่ต้องการจะคิด (Central Idea) ตรงกลางหน้ากระดาษ
   4.1 ให้วาดภาพ…
     4.1.1 ขนาดไม่เล็กเกินไป (จนไม่น่าสนใจ) และไม่ใหญ่จนไม่มีที่ให้แตกกิ่งออกมาเพิ่ม
     4.1.2 พยายามอย่าล้อมกรอบ ซึ่งจะไปปิดกั้นความคิด (สมองจะมองกรอบว่าเป็นการสรุป เสร็จสิ้นแล้ว)
   4.2 ถ้าวาดรูปไม่เป็นให้ไปหารูปมาแปะ
   4.3 ถ้าหารูปไม่ได้อีก ก็เขียนเป็นคำก็ได้ แต่ต้องเอาให้เด่น!!
   4.4 ทำให้สิ่งที่อยู่ตรงกลางโดดเด่น เพื่อสร้างความจดจำ และกระตุ้นความคิด
     4.4.1 สีสดใส
     4.4.2 ใส่อารมณ์ เช่น มุกตลก

5. วาดกิ่งใหญ่ แตกแขนงออกมาจากภาพตรงกลาง ซึ่งกิ่งใหญ่นี้จะเป็นตัวแทนของหัวข้อหลักที่เกี่ยวกับ Central Idea ตรงกลาง โดยที่…
    5.1 แรกเริ่มยังไม่ต้องคิดมากกว่าจะแตกกิ่งอะไรดี จะถูกหรือไม่ ให้ใช้หลักการ Brainstorming คือ ให้พยายามคิดออกมาเยอะๆ คือเน้นปริมาณก่อน จากนั้นค่อยมาคัดทีหลัง
      5.1.1 การคัดเลือก ให้รวบรวมกิ่งที่คล้ายคลึงกันเข้าด้วยกัน โดยให้มีอย่างมากไม่เกิน 9 กิ่งใหญ่ (หลักการจำของสมอง จำได้แบบ Short-Term ได้แค่ 7+2 สิ่ง)
      5.1.2 เทคนิคของการแตกหัวข้อกิ่งใหญ่คือ Concept ที่เรียกว่า No Gap, No Overlap ซึ่งหมายถึง แต่ละหัวข้อควรเป็นประเด็นที่ไม่ซ้ำกัน และเมื่อทุกหัวข้อรวมกัน จะทำให้เราเห็นทุกประเด็นของ Central Idea จนครบ
      5.1.3 การที่จะมองว่าหัวข้อที่เราเขียนมันซ้ำประเด็นกันหรือไม่ ให้ลองคิดแบบย้อนกลับ คือ Zoom Out ออกไปว่าสิ่งที่เราเขียนอยู่ใน Category ใหญ่กว่าชื่อว่าอะไร เช่น หากเราเขียนถึงโค้ก=> ใหญ่กว่าคือ น้ำอัดลม => Soft Drink =>  เครื่องดื่ม => อาหาร เป็นต้น ถ้า Category ใหญ่กว่าซ้ำกัน เราก็ควรใช้อันนั้นเป็นกิ่งใหญ่หรือ Central Idea ไปเลย
    5.2 แต่ละกิ่งใหญ่ควรใช้สีแยกกัน และกิ่งย่อยที่แตกจากสีไหน ก็ให้ใช้สีเดียวกัน เพื่อให้เกิดการจัดกลุ่ม (ถ้ารีบจดก็ยังไม่ต้องแยกสีก็ได้)
       5.2.1เส้นกิ่งใหญ่ให้วาดเป็นเส้นหนาๆ โค้งๆ รูปตัว s
    5.3 ให้วาดภาพหรือเขียน Keyword หรือของหัวข้อกิ่งใหญ่ในตำแหน่งเหนือกิ่งแต่ละอัน ให้กิ่งทำตัวเหมือนเป็นการขีดเส้นใต้ ห้ามเขียนหัวข้อไว้ปิดปลายกิ่ง เพราะจะเป็นการปิดกั้นไอเดีย (ยกเว้นคิดว่าจะเสร็จแล้วจริงๆ)
     5.4 ตรงหัวข้อตรงกิ่งใหญ่นี่แหละ เราสามารถแตกกิ่งออกเป็นสิ่งเหล่านี้ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน เช่น
        5.4.1 หากจะสรุปหนังสือ : ก็เป็นหัวข้อสารบัญในหนังสือที่ต้องการสรุป
        5.4.2 หากเป็นสรุปบทความ : ให้ Highlight คำสำคัญที่พบในบทความ แล้วนำมาใช้เป็นกิ่งใหญ่
        5.4.3 หากไปประชุม : Agenda การประชุม/สัมมนา
        5.4.4 หากทำ Process ขั้นตอนต่างๆ : ให้เรียงจาก ก่อนไปหลัง
              5.4.4.1 จะเริ่มจากทิศ 1-2 นาฬิกา ไปทิศทางตามเข็มนาฬิกา (ถ้าถนัดขวา)
              5.4.4.2 จะเริ่มจากทิศ 10-11 นาฬิกา ไปทิศทวนเข็มนาฬิกา (ถ้าถนัดซ้าย)
        5.4.5 ใช้ Framework จากเครื่องมืออื่นๆ : เช่น SWOT, 4Ps, Decision Tree, อื่นๆ อีกมากมาย
      5.5 ถ้ายังคิดเรื่องได้ไม่ครบ ให้แตกกิ่งเปล่าทิ้งไว้ เดี๋ยวสมองเพื่อนๆ จะช่วยหาอะไรมาเติมให้เองทีหลัง

6. แตกกิ่งรายย่อยเป็นรายละเอียดออกมาจากกิ่งใหญ่ (แตกออกมาได้ไม่รู้จบ โดยกิ่งย่อยๆ ให้มีขนาดบางกว่ากิ่งใหญ่) ที่สำคัญ อย่าเอาอะไรไปปิดปลายกิ่ง ถ้ายังคิดเรื่องที่จะ          6.1 แตกออกมาไม่ออก ให้แตกกิ่งเปล่าทิ้งไว้ เดี๋ยวสมองเพื่อนๆ จะช่วยหาอะไรมาเติมให้เองทีหลัง
ให้เขียน 1 คำที่เป็น Keyword ต่อ 1 กิ่ง (อย่าเขียนเป็นประโยค)
        6.1.1 หากคำนั้นแยกเป็นคำประกอบได้ให้แยกคำอีก เช่น คำว่า แม่น้ำ ให้แยกเป็น “แม่” กิ่งนึง จากนั้นต่ออีกกิ่งก้วยคำว่า “น้ำ” เป็นต้น
        6.1.2 ความยาวของเส้น ให้ยาวพอดีๆ กับคำที่อยู่บนเส้น)
        6.1.3 เส้นไม่ต้องคดเคี้ยวมากเกินไป เอาให้อ่านง่าย

7. เทคนิคปลีกย่อย
       7.1 ให้เว้นช่องว่างระหว่างกิ่งไว้ด้วย เผื่อความคิดใหม่ๆ จะโผล่มาอีก
       7.2 การแตกกิ่งตรงนี้อาจใช้หลักการได้ทั้งคิดแบบมีหลักการ (เช่นมีลำดับขั้น เช่น จากทวีป => ประเทศ => ภาค => จังหวัด => เขต => อำเภอ…) และคิดแบบฟุ้งซ่าน (หากกิ่งนั้นทำให้นึกถึงอะไรก็เขียนเลย)
       7.3 เส้นต้องเชื่อมกันอย่าให้ขาด (เดี๋ยวความคิดวิ่งไปไม่ถึง)


เทคนิคเจ๋งๆ ในการทำ Mind Map

  • ให้ลองคิดด้านลบ แล้วหาทางป้องกัน เช่น ถ้าต้องการจะทำให้ยอดขายของบริษัทสูงขึ้น หากเราคิดแบบนีั้นตรงๆ เลย เรามักจะคิดไม่ออก ให้ลองคิดกลับด้าน เป็น ทำยังไงให้บริษัทล้มละลาย แล้วไอเดียจะพรั่งพรูเอง จากนั้นค่อยหาทางป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นอีกที เป็นต้น
  • ให้คิดแบบ Backward Thinking ลองเปลี่ยนจากเดิมที่คิดเหตุหาผล => ผลไปหาเหตุ ดูบ้าง
  • ใช้ Mind Map อันนึง เชื่อมต่อไปยัง Mind Map อันต่อไปเรื่อยๆ เวลาเจอไอเดียเจ๋งๆ หรือสื่งที่ต้องการ Explore เพิ่ม จากการวาด Mind Map อันแรก ให้ลองวาด Mind Map ของสิ่งนั้นดูเป็น Mind Map อันใหม่
  • ดูตัวอย่าง MInd Map คนอื่นเยอะๆ จะได้ไอเดียในการทำเอง
  • ยิ่งอ่านเยอะ รู้เยอะ จะยิ่งมีคลังความคิดเอาไว้เชื่อมโยงได้มากขึ้น
  • ลองใช้ Mind Map คิดเชื่อมโยงหาความสัมพันธ์ของ 2 สิ่งที่อาจไม่เกี่ยวข้องกันดูสิ (Bisociation) แล้วเพื่อนๆ อาจะได้ไอเดียใหม่ที่ไม่เหมือนใครก็ได้

 

เครดิต: http://www.mindmapinspiration.com/ 
เครดิต : http://bviput.blogspot.com/2015/03/mind-map.html